Marketing 4.0 นี้ คือยุค“Marketing Evolution for People” หรือ
“ยุคแห่งวิวัฒน์การตลาดเพื่อปวงชน”
เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางการตลาดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่ายุคใดๆที่ผ่านมา
โดยมีเทรนด์เด่นๆ 3 ด้าน ด้วยกัน คือ
1.ด้านผู้บริโภค
เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและโซเชียลเน็ตเวิร์ค ได้ส่งผลให้เกิดสังคมแห่งอุปนิสัยใหม่ของผู้บริโภค
ซึ่งเรียกว่า “โซเชียลโนมิกส์” (Socialnomics) คือ ประชากรโลกที่หลอมรวมกันในช่องทางออนไลน์และโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เป็น “โซเชียลโนมิกส์ เนชั่น”(Socialnomics Nation) ซึ่งมีรูปแบบไลฟสไตล์ และอุปนิสัยต่างจากผู้บริโภคที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง
Socialnomics Nation มีพลังในการก่อให้เกิดกระแสต่างๆทั้งในทางบวกและทางลบ เป็นสังคมที่เชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดน และเปิดโอกาสทางการตลาดอย่างมหาศาล ด้วยพลังของมวลชนและความเร็วของการเดินทางของข้อมูล
2.ด้านเทคโนโลยีและข้อมูล
คือ Internet of Things (IoT) เพราะในอนาคตอันใกล้ อุปกรณ์ทุกชิ้นในชีวิตประจำวันจะถูกเชื่อมต่อด้วย อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ค และระบบเซ็นเซอร์ ที่จับความเคลื่อนไหวต่างๆ จึงเกิดการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูลในเชิงเทคโนโลยีซึ่งมีผลทางบวกกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และ การตอบความต้องการของผู้บริโภค เช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) หรือ ยานยนตร์อัจฉริยะ (Intelligent Transportation) ฯลฯ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ข้อมูลหรือดาต้า เหล่านี้คือข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ซึ่งเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ของนักการตลาด หากสามารถแปลความหมาย และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
3.ด้านการสื่อสาร
หลังจากปี 2560 เป็นต้นไป เทรนด์ของช่องทางหลักในการเข้าถึงผู้บริโภคคือ Mobile Devices และ “โซเชียล มีเดีย” เป็นการสื่อสารแบบ เรียลไทม์ เป็นหลัก
ดังนั้นรูปแบบจะเปลี่ยนไป จากแคมเปญที่ถูกสร้างสรรค์โดยนักการตลาดล้วนๆ มาเป็นการสื่อสารที่เป็น Consumer Curated Content เป็นหลัก
“ผู้ประกอบการต้องตระหนักว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หัวใจของการตลาดยังคงย้อนกลับมาสู่สิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอ นั่นก็คือแบรนด์และผู้บริโภค”
สรุปจากบทความของ
นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ที่มาข้อมูลหลัก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/729256
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น